วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ทั่วไป


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประเทศไทย)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อังกฤษ: National Human Rights Commission) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว วาระละ 6 ปี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานข้าราชการฝ่ายรัฐสภาสามัญทำหน้าที่ปฏิบัติราชการภายใต้อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่
ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณี ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงผลผระโยชน์ส่วนรวมของชาติและของประชาชนประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2544-2552)
ศ.เสน่ห์ จามริก - ประธานกรรมการ
ผศ. จรัล ดิษฐาอภิชัย
คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร
นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง
ศ.เกียรติคุณ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
นายวสันต์ พานิช
ผศ. ดร.สุทิน นพเกตุ
นางสุนี ไชยรส
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน
คุณหญิงอัมพร มีศุข
นาวสาวอาภร วงษ์สังข์
ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2552-2558)
ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ - ประธานกรรมการ
นพ. แท้จริง ศิริพานิช
นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
นายปริญญา ศิริสารการ
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด
นางวิสา เบ็ญจะมโน
ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2558 -ปัจจุบัน)
อาจารย์ วัส ติงสมิตร - ประธานกรรมการ
นาง ฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง
นาง ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์
นายแพทย์ สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย
นาง อังคณา นีละไพจิตร
นาง เตือนใจ ดีเทศน์
นาย ชาติชาย สุทธิกลม

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประเทศไทย) - วิกิพีเดีย


กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ความเป็นมาและความหมาย
เครื่องหมายราชการกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นภาพตราชูบนพระแท่นนังคศิลาภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส มีอักษรบอกนามกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอยู่เบื้องล่าง พระแท่นมนังคศิลานี้เป็นพระแท่นของพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัย ทรงใช้ว่าราชการแก้ทุกข์ของไพร่ฟ้าประชาชนที่มีความเดือดร้อนข้องใจ เปรียบได้ดังภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และช่วยบำบัดทุกข์ของประชาชน ตามรอยพระจริยาในพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแต่อดีตกาล
ประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม คือ การสร้างความสบงสุขให้เกิดขึ้นในสังคม โดยการป้องกันแก้ไขปัญาหาอาชญากรรมการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตละทรัย์สิน การป้องกันแก้ไขข้อพิพาทขัดแย้งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน ที่มุ่งถึงความสัมฤทธิ์ผลของความยุติธรรมบนพื้นฐานของมนุษยธรรม แต่เนื่องจากยังมีสภาพปัญหาหลายประการที่ขัดขวางมิให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงความยุติธรรม เช่น
๑.การไม่มีความรู้ ความเข้าใจบทบัญญัติของกฏหมาย และสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้โดยชอบธรรม ทำให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบและล่วงละเมิลสิทธิจากบุคคลที่อยู่ในภาวะที่เหนือกว่า ดังนั้น ความยุตอธรรมที่เกิดขึ้นนั้นมิได้หมายถึงการหยิบยื่นให้จากรัฐแต่เพียงภายเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพด้วยตัวเองของประชาชนเอง
๒.ความยากจนของประชาชนที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรมเนื่องจากกระบวนการดำเนินคดีนั้น คู่ความจำเป็นที่จะต้องจัดจ้างทนายเพื่อต่อสู้คดีทำให้ประชาชนยากจนไม่สามารถดำเนินการได้
๓.ประชาชนผู้เสียหายจากอาชญากรรม และจากกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือละเลยต่อผู้เสียหายชึ่งประชาชนผู้เสียหายเล่านี้ต้องสูญเสียอิสรภาพในชิวิตร่างกายเกิดความพิการหรือสูญเสียชีวิต สร้างความเสียหายต่อสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้
๔.กระบวนการยุติธรรม ขาดศักยภาพในการพัฒนาทางเลือกความยุติธรรมให้กับประชาชน กล่าวคือ แนวคิดดั้งเดิมความยุติธรรมเป็นสิ่งที่รัฐหยิบยื่นให้ประชาชนจากกระบวนการพิจารณาคดีเท่านั้น ส่งผลให้ประชาชนต้องสูญเสียโอกาสต่างๆ มากมาย สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย สูญเสียอิสรภาพโดยมิควรและปิดกั้นโอกาสของผู้ยากจนไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรม
จากสถานการณ์ดังกล่าวจะพบว่า กระบวนการยุติธรรมยังไม่มีหน่วยงานกลางในการประสานงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมหรือถูกล่วงละเมิดสิทธิ ด้วยการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือช่วยบรรเทาปัญหาในเบื้องต้นทั้งในเชิงรุกและรับ จึงทำให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิขาดที่พึ่งในการเข้าถึงความยุติธรรม ประกอบกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ต้องการให้มีการส่งเสริม คุ้มครองและสร้างหลักประกันให้กับประชาชนซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ ปรกอบกับมีการปฏิรูประบบราชการใหม่จึงได้มีการจัดตั้งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขึ้น ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ ตุลาคม 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และใช้ชื่อภาษาอังกฤษของหน่วยงานว่าRIGHTS AND LIBERTIES PROTECTION DEPARTMENT มีชื่อย่อว่า RLPD ภายใต้วิสัยทัศน์ " เป็นองค์กรในการส่งเสริมคุ้มครองละสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการ และมี นวัตกรรมสูความเป็นสากล "

จาก : http://www.rlpd.go.th/










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น